นโยบายต่อต้านการติดสินบนและการทุจริต

จรรยาบรรณ

นโยบายต่อต้านการติดสินบนและการทุจริต

  1. นโยบายการต่อต้านการติดสินบนและทุจริตคอร์รัปชัน 
    1. บริษัท วายเคเค (ประเทศไทย) จำกัด (“บริษัทฯ”) ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส และเป็นธรรม โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
    2. ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ มีนโยบายการกำหนดความรับผิดชอบและแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการที่เหมาะสมในการป้องกันการคอร์รัปชันและการให้สินบน และเพื่อให้การตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจที่อาจมีความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชัน และการให้สินบนได้รับการพิจารณาและปฏิบัติอย่างรอบคอบ บริษัทฯ จึงได้จัดทำ “นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและการให้สินบน” เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนให้แก่พนักงาน
    3. ห้ามมิให้บุคลากรของบริษัทฯ กระทำการหรือยอมรับการทุจริตคอร์รัปชันและการให้สินบนทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยให้มีผลครอบคลุมในทุกธุรกิจของบริษัทฯ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนอกจากนี้ ยังจัดให้มีการสอบทานการปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และการให้สินบนนี้อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทบทวน แนวทางการปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  2. การบังคับใช้
    1. นโยบายนี้และกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะมีผลบังคับใช้และปฏิบัติตาม โดยพนักงานและฝ่ายที่กระทำการในนามของบริษัท หรือปฏิบัติงานให้กับบริษัท รวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะผู้ขาย ผู้รับเหมาช่วง ตัวแทน        ที่ปรึกษา ผู้ให้บริการ และบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง
  3. การติดสินบน และคอร์รัปชันคืออะไร
    1. “สินบน” หมายถึง การกระทำในรูปแบบใด ๆ ที่เป็น การเสนอ การให้สัญญา การมอบให้ การยอมรับ การเรียกร้องที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ในลักษณะที่เป็นการจูงใจให้มีการปฏิบัติใด ๆ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ เอกชน หรือบุคคลใด ๆ ให้กระทำการอย่างไม่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่หรือ ให้รางวัลแก่พวกเขาสำหรับการกระทำที่ไม่เหมาะสมหรือที่ผู้รับจะกระทำการอย่างไม่เหมาะสม
      ผลประโยชน์ รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง ของขวัญ การต้อนรับ ค่าธรรมเนียม บริการ ส่วนลด การสัญญาว่าจะให้รางวัลข้อตกลงทางธุรกิจหรือสิ่งอื่นที่มีมูลค่า 
      ตัวอย่างการติดสินบน:
            (ก) เสนอตั๋วเข้าชมการแข่งขันกีฬาให้กับลูกค้า แต่เฉพาะในกรณีที่มีข้อตกลงที่จะทำธุรกิจกับบริษัทฯ
            (ข) การให้กระเช้าอันหรูหราแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเจตนาให้ใบอนุญาตที่บริษัทขอจะได้รับการอนุมัติ
    2. “คอร์รัปชั่น” หมายถึง การใช้อำนาจหรือหน้าที่โดยทุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือบุคคลอื่นรวมถึงการติดสินบน การกรรโชก การฉ้อโกง การหลอกลวง การสมรู้ร่วมคิด การสมยอมกัน การยักยอกเงิน การฟอกเงิน และการกระทำอื่น ๆ  ที่มีลักษณะคล้ายกัน
      1. ตัวอย่างการคอร์รัปชัน: เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ตำแหน่งของตนโดยมิชอบเพื่อข่มขู่หรือเรียกร้องผลประโยชน์ทางธุรกิจหรือการตัดสินใจบางอย่างจากบริษัทฯ
    3. “เจ้าหน้าที่รัฐ” หมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือบุคคลผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ และให้หมายความรวมถึงกรรมการ อนุกรรมการลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ และบุคคลหรือคณะบุคคล ซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางการปกครองของรัฐในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ ทั้งนี้ ให้รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
  4. ความมุ่งมั่นของเรา
    1. บริษัทฯ จะกระทำการดังต่อไปนี้ :
      (ก) จะต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการติดสินบนและคอร์รัปชัน และจรรยาบรรณและจริยธรรมทางธุรกิจโดยต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องคอร์รัปชัน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
      (ข) ดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา เป็นธรรม เปิดเผยในการดำเนินธุรกิจ และยืนยันได้ว่าบริษัทจะปราศจากอิทธิพลของการติดสินบนหรือการทุจริตใด ๆ
      (ค) จัดให้มีช่องทางในการสื่อสารต่าง ๆ ที่ปลอดภัย เพื่อให้บุคลากรของบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถขอคำแนะนำ แจ้งเบาะแส ข้อเสนอแนะหรือร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน รวมทั้งให้ความเป็นธรรม และมีมาตรการปกป้องและคุ้มครองแก่ผู้ที่ร้องเรียนหรือผู้ให้ความร่วมมือในการรายงานการทุจริตคอร์รัปชัน ตามแนวทางที่บริษัทฯ ได้กำหนดไว้ในนโยบายการรับเรื่องร้องเรียนการติดสินบนและคอร์รัปชัน และการกระทำผิด (Whistleblowing procedure)
      (ง) สนับสนุน และปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศและในประเทศที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชัน
      (จ) ดำเนินการ และบังคับใช้กฎระเบียบ นโยบาย และระบบภายในเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการติดสินบนและการคอร์รัปชัน
      (ฉ) เพื่อติดตามและตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายนี้ตลอดเวลา
  5. ลักษณะที่เข้าข่ายการติดสินบนและคอร์รัปชัน
    1. ต่อไปนี้คือรายการลักษณะที่อาจบ่งบอกถึงการติดสินบนหรือการทุจริต ซึ่งรายการต่อไปนี้อาจไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และเป็นเพียงเพื่อการอธิบายเท่านั้น
      (ก) พนักงานคนใดคนหนึ่ง ทราบว่าบุคคลภายนอกมีส่วนร่วมหรือถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจที่ไม่เหมาะสม
      (ข) พนักงานคนใดคนหนึ่ง รู้ว่าบุคคลภายนอกที่มีชื่อเสียงในการจ่ายสินบน หรือกำหนดให้มีการให้สินบนแก่ตน หรือมีชื่อเสียงในการมี “ความสัมพันธ์พิเศษ” กับเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ
      (ค) บุคคลภายนอกยืนกรานที่จะรับค่าคอมมิชชั่นหรือค่าธรรมเนียมก่อนที่จะลงนามในสัญญากับบริษัทฯ หรือดำเนินการตามหน้าที่หรือกระบวนการของรัฐบาลสำหรับบริษัทฯ
      (ง) บุคคลภายนอกร้องขอให้ชำระเงินเป็นเงินสดและ/หรือนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อลงนามในข้อตกลงค่าคอมมิชชั่นหรือค่าธรรมเนียมอย่างเป็นทางการ หรือจัดทำใบแจ้งหนี้หรือใบเสร็จรับเงินสำหรับการชำระเงิน
      (จ) บุคคลภายนอกร้องขอให้ชำระเงินในประเทศหรือที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างจากที่บุคคลภายนอกอาศัยอยู่หรือดำเนินธุรกิจ
      (ฉ) บุคคลภายนอกเรียกร้องความบันเทิง หรือของขวัญอย่างฟุ่มเฟือยก่อนที่จะเริ่มหรือดำเนินการเจรจาตามสัญญาหรือการให้บริการต่อไป
      (ช) บุคคลภายนอกขอให้จัดหางานหรือผลประโยชน์อื่น ๆ ให้กับเพื่อนหรือญาติ
      (ซ) พนักงานของบริษัทได้รับใบแจ้งหนี้จากบุคคลภายนอกที่ดูเหมือนไม่ได้มาตรฐานหรือปรับแต่งเอง
      (ฌ) บุคคลที่สามยืนกรานที่จะใช้จดหมายข้างเคียงหรือปฏิเสธที่จะใส่เงื่อนไขที่ตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร
      (ญ) พนักงานคนใดคนหนึ่ง แจ้งว่าบริษัทได้รับการออกใบแจ้งหนี้สำหรับค่าคอมมิชชั่นหรือค่าธรรมเนียมที่ดูเหมือนมากจากบริการที่ถูกระบุไว้
  6. หน้าที่ของพนักงาน 
    1. เพื่อให้บรรลุความมุ่งมั่นของเรา พนักงานของบริษัทฯ จะต้องปฏิบัติตามนโยบายนี้และนโยบายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เช่น แต่ไม่จำกัดเฉพาะนโยบายการให้และรับของขวัญของบริษัทฯ
    2. พนักงานของบริษัทฯ ต้องแจ้งผู้บังคับบัญชาของตนหรือส่งรายงานการแจ้งเบาะแสโดยเร็วที่สุด หากพบ มีความเชื่อหรือสงสัยว่ามีกระทำผิด ซึ่งมีความขัดแย้งกับนโยบายนี้หรืออาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือหาก พนักงานทราบเรื่อง  ใด ๆ ที่ระบุไว้ใน ข้อ 5 ของนโยบายนี้